ข้าวเป็นพืชอาหารหลักของคนไทยหรือคนสยามมาช้านาน ตามหลักฐานจากรอยเปลือกเมล็ดข้าวที่ขุดพบในโบราณสถานต่างๆ พิสูจน์ได้ว่าบริเวณประเทศไทยนี้เป็นแหล่งปลูกข้าวมานานก่อนยุคประวัติศาสตร์ จากการขุดพบเมล็ดข้าวในถ่ำปุงฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และขุดพบรอยแกลบในภาชนะดินเผา และเมล็ดข้าวในหลุมฝังศพของโบราณสถานที่บ้านเชียง จ.อุดรธานี และที่บ้านโนนนกทา จ.ขอนแก่น (ภาพที่ 1) ที่คาดว่ามีอายุกว่า 5,500 ปี นอกจากนี้ยังมีภาพวาดบนหน้าผาที่อยู่ริมแม่น้ำโขง บริเวณผาแต้ม จ.อุบลราชธานี ที่มีภาพวาดล้ายกับการเพาะปลูกข้าว (ภาพที่ 2) 

 ภาพที่ 1  ภาพที่ 2

ภาพที่ 1 เมล็ดข้าวที่ขุดค้นพบในโบราณสถานบ้านโนนนกทา จ.ขอนแก่น เปรียบเทียบกับข้าวพันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 

ภาพที่ 2 ภาพวาดบนหน้าผาที่อยู่ริมแม่น้ำโขง บริเวณผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี 

ส่วนหลักฐานในยุคประวัติศาสตร์ได้ค้นพบว่ามีแกลบในแผ่นอิฐตามโบราณสถาน จึงเชื่อได้ว่ามีการปลูกข้าวในพื้นที่ประเทศไทยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13 – 16 ในสมัยทวารวดี โดยข้าวที่ปลูกเป็นข้าวเหนียวเมล็ดป้อมขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังพบว่ามีการขุดค้นพบเมล็ดข้าวที่กลายเป็นถ่าน (carbonize rice) ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และบริเวณถนนพระร่วง ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่าเป็น ข้าวตอกพระร่วง โดยพบว่าข้าวตอกพระร่วงนี้มีลักษณะที่เป็นข้าวเมล็ดป้อม (ภาพที่ 3) 

 

ภาพที่ 3  ข้าวตอกพระร่วง (carbonize rice) 

Joomla templates by a4joomla