ผู้บริโภคข้าวอย่างพวกเราเริ่มสงสัยแล้วว่า กินข้าวอันตรายจริงหรือ?  เอาข้อมูลจมาากใหน? แล้วที่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด ของพวกเราที่กินมาล่ะไม่เห็นเป็นอะไรเลย! แล้วพวกเราต้องเตรียมตัวอย่างไรดี? หรือว่าต้องปรับวิธีการเพาะปลูกข้าวแล้ว? หรือต้องปรับวิธีการหุงข้าวมาเป็นแบบเช็ดน้ำเหมือนเดิม? แล้วประโยชน์ที่เราได้รับจากการกินข้าวกล้องละ? หรือว่าจะเลิกกินข้าวเลยดีกว่าหรือเปล่า? แล้วพืชอาหารอื่นล่ะมีสารหนูหรือเปล่า? 

 ภาพจาก http://www.globalhealingcenter.com/natural-health/health-dangers-arsenic-toxicity/

ภาพจาก http://www.rakbankerd.com/

แนวคิดการทำหม้อหุงข้าวแบบใหม่ จากเครื่องชงกาแฟ

ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Coffee_percolator 

        การพัฒนาทางการเกษตรที่ต้องเพาะปลูกพืชอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของประชากรโลกนั้น ย้อมหลีกเลี้ยงผลกระทบที่ตามมาไม่ได้ เช่น พื้นที่ป่าไม่ลดลงจากการขยายพื้นที่เพาะปลูก เมื่อมีการทำการเกษตรเชิงเดียวย่อมต้องใช้สารอินทรีย์หรืออนินทรีย์ เช่น ปุ๋ย สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพื่อการป้องกันและรักษาผลิตผลทางการเกษตรเพิ่มมายิ่งขึ้นทำให้เกิดการสะสมของสารอนินทรีย์ที่ใช้ในระบบการเกษตร อีกทั้งการทำอุตสหกรรมต่างๆ อาจจะทำให้เกิดการสะสมของสารอินทรีย์หรืออนินทรีย์ที่เป็นพิษในธรรมชาติ นอกจากนี้วัตถุต้นกำเนินดินทีมีสารอินทรีย์เหล่านนี้อยู่เป็นต้นทุนอยู่แล้ว หากมีการเพาะปลูกพืช ย่อมหลีเลี้ยงไม่ได้ที่จะมีการสะสมสารเหล่านี้ในต้นพืชและผลผลิตที่เก็บเกี่ยวไป

      การวิเคราะห์และพิสูจรณ์ทางวิทยาศาสตร์ทำให้ทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการตั้งรับกับสิ่งที่เป็นอยู่นี้  ปัญหานี้มิได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย แต่เกิดขึ้นในทุกๆ ที่ที่มีการทำการเกษตร การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาเหล่านี้จึงเป็นอีกสิ่งท้าทายอย่างยิงสำหรับนักวิจัยทุกมุมโลก

บทความและข่าวต่างๆ เกี่ยวกับสารหนูในข้าว

1. สารหนูได้รับแล้วตายผ่อนส่ง จาก กลุ่มงานพิษวิทยาและสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

2. Think Twice Before You Eat Rice - Arsenic in Your Food จาก  healthy, fit, and fab... mom and beyond!

3. รู้ทันมะเร็ง : 'สารหนู' สารก่อมะเร็งใกล้ตัว จาก   

4. สุดเสี่ยง “กินข้าว” อาจเกิดมะเร็ง แต่มีวิธีแก้ ก่อนหน้าเคยค้นพบ “ข้าวกล้องมีสารหนูมากกว่าข้าวขาว” จาก  คมชัดลึกออนไลน์วันที่ 25-07-2558

5. การปนเปื้อนสารหนูในข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าว จาก สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา (Center of Excellence on Environmental Health and Toxicology; EHT)

 6. ความปลอดภัยในการบริโภคอาหารเช้า จาก สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา (Center of Excellence on Environmental Health and Toxicology; EHT)

7. Arsenic In Your Food จาก ConsummerReports.org

8. Rethinking Rice Preparation for Highly Efficient Removal of Inorganic Arsenic Using Percolating Cooking Water (2015) จาก PLOS ONE 

 

 ปิดท้ายด้วยข้อคิดเห็นจากผู้เขียวว่า วิธีการหุงข้าวแบบโบราณด้วยการเช็ดน้ำเป็นการลดสารหนูที่มีอยู่ในข้าวออกอย่างไม่ตั้งใจ ซึ่งสามารถรถกำจัดสารหนูออกไปได้มากกว่าครึ่งที่มีอยู่ในข้าว กรรมวิธีการหุงข้าวอาจจะต้องย้อนกับไปเป็นเช่นเดิมหรือไม่ หรือรูปแบบหม้อหุงข้าวที่เราใช้กันอยู่จะต้องเปลี่ยนแบบไป Manus Carey และคณะ (2015) ได้กล่าวไว้

 

Joomla templates by a4joomla