การทำการเกษตรแบบแม่นยำ (precision agriculture) ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในการพัฒนากรเกษตรให้มีความยั่งยืนมากขึ้น โดยการจัดการฟาร์มหรือแปลงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งที่เป็นฟาร์มหรือแปลงขนาดใหญ่จากผู้ผลิตรายเดียว หรือหลายฟาร์มหรือแปลง รวมกันเป็นฟาร์หรือแปลงขนาดใหญ่ ดังนั้นการติดตามการเปลี่ยนแปลงของการทำการเกษตรในพื้นที่ขนาดใหญ่ หากมีเครื่องมือที่ช่วยสำหรับการประเมินถึงการเจริญเติบโตหรือการเปลี่ยนแปลงของแปลงได้ ย่อมทำให้การวางแผนการจัดการฟาร์หรือแปลงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

   อากาศยานไร้คนขับ (unman aerial vehicle, UAV) โดยเฉพาะ โดรน (drone) ที่มีการใช้แพร่หลายในงานต่างๆ นั้น สามารถนำมาประยุคต์ใช้ในการบินสำรวจสภาพฟาร์มหรือแปลงได้แล้ว ภายที่ถ่ายจากโดรนโดยการตั้งโปรแกรมการถ่ายภาพให้ครอบคลุ่มพื้นที่แปลงทั้งหมด เมื่อนำซอฟ์แวร์มาประมวลผลเป็นภาพแปลง (feild map) ย่อมทำให้สามารถติดตามและวางแผนการจัดการฟาร์มหรือแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

   ตัวอย่างการใช้แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศในการจัดการแปลง

   ข้าว:  ภาพถ่ายของความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความสม่ำเสมอของต้นข้าวในแปลง การระบาดของวัชพืชในแปลง การระบาดของศัตรูข้าวในแปลง และการวางแผนการเก้บเกี่ยว ซึ่งแผนที่แปลงสามารถดำเนินการได้ตั้งแต่ขนาดแปลง 5 - 1,000 ไร่หรือมากกว่าได้

   ปาล์มน้ำมัน : ภาพถ่ายความอุดมสมบูรณ์ของดิน การนับจำนวนต้นในแปลง การเจริญเติบโตของปาล์ม การเข้าทำลายของศัตรูปาล์ม ซึ่งแผนที่แปลงสามารถดำเนินการได้ตั้งแต่ขนาดแปลง 5 - 5,000 ไร่หรือมากกว่าได้

   ผลงานจากโครงการวิจัย การพัฒนาระบบการวางแผนและการติดตามการปลูกข้าวและปาล์มน้ำมันด้วยแอปพลิเคชัน (Development of Application for Rice and Oilpalm Planning and Cultivation) ภายใต้แผนงานการวิจัย การพัฒนาการเกษตรไทยสู่ระบบอัจฉริยะด้วยการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Development of Smart Thai Agriculture Using Big Data) จากการสนับสนุนจากเครือข่ายมหาวิทยาลัยวิจัย (RUN) โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช)

ตัวอย่างภาพถ่ายแปลงนา

ตัวอย่างภาพถ่ายแปลงปาล์ม

 

Joomla templates by a4joomla